วันอังคารที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
ภาพพจน์ในอดีตของอะแพโทซอรัสถูกมองว่าเป็นยักษ์ไร้พิษสง มักจะพบภาพของมันถูกวาดให้โดนไดโนเสาร์นักล่าตะครุบขย้ำเป็นอาหาร (ในจำนวนนี้ มีมากที่เป็นภาพไทรันโนซอรัสกำลังล่าอะแพโทซอรัส ผิดจากความเป็นจริงที่ว่า เหยื่อกับนักล่า 2 พันธุ์นี้มีชีวิตอยู่คนละยุคห่างกันหลายสิบล้านปี ไม่สามารถมาเผชิญหน้ากัน) เนื่องจากลักษณะของมันไม่มีอาวุธป้องกันตัวที่เด่น เช่น เขาขนาดใหญ่แบบไทรเซอราทอปส์ หรือหนาม-ตุ้มที่หางแบบไดโนเสาร์หุ้มเกราะ แต่การค้นคว้าสมัยหลัง ๆ เชื่อว่า มันไม่ใช่เหยื่อตัวยักษ์ที่หวานหมูนักล่าขนาดนั้น ด้วยขนาดตัวที่ใหญ่กว่านักล่าหลายเท่านั้นก็เป็นอุปสรรคแก่นักล่าระดับหนึ่งแล้ว เช่นเดียวกับช้างในปัจจุบัน
อะแพโทซอรัสมีหางที่ยาวมากเพื่อถ่วงคานน้ำหนักกับส่วนคอที่ยาวของมัน คำนวณกันมาว่า หากไม่มีส่วนหาง อะแพโทซอรัสจะไม่สามารถยกคอมันขึ้นจากพื้นได้ นอกจากนี้ หางใหญ่ของมันยังเป็นอาวุธป้องกันตัวสำคัญใช้ฟาดอย่างแรงเมื่อถูกอัลโลซอรัสหรือนักล่าอื่น ๆโจมตี ส่วนตรงปลายหางที่เรียวเล็กก็ใช้หวดต่างแส้ได้เช่นกัน
ลักษณะที่สำคัญไดโนเสาร์ชนิดนี้มีความประหลาดมาก คือมีหัวใจ 7-8 ดวงเรียงจากอกถึงลำคอเพื่อช่วยในการสูบฉีดเลือดเพราะมีลำตัวยาวมาก นอกจากนี้ พวกนี้มีฟันรูปร่างคล้ายแท่งดินสอที่ไม่แข็งแรงเคี้ยวอะไรไม่ได้ นอกจากพืชน้ำที่นิ่มที่สุดเท่านั้น (บางข้อมูลก็เชื่อว่า มันใช้ฟันแท่งดินสอเหล่านี้รูดใบไม้อ่อนตามยอดต้นไม้กิน)
หัวของมันก็เล็กจิ๋ว เมื่อเทียบกับความใหญ่โตของลำตัว สมองของอะแพโทซอรัสจึงจิ๋วตามหัวไปด้วย แต่รูจมูกของมันจะอยู่กลางกระหม่อม สันนิษฐานว่าเพื่อประโยชน์ในการใช้ชีวิตในแหล่งน้ำ ทำให้อะแพโทซอรัสสามารถดำน้ำได้นาน เพราะขณะดำน้ำ มันจะชูคอโผล่แต่กระหม่อมขึ้นมาเหนือน้ำ ส่วนตัวก็อยู่ใต้น้ำ ที่มันต้องดำน้ำก็เพราะที่อยู่ของเจ้าอะแพโทซอรัสเป็นถิ่นที่อยู่ของไดโนเสาร์กินเนื้อพันธุ์ดุร้ายมากมายนั่นเอง และใต้น้ำก็มีต้นไม้อ่อน ๆ นิ่ม ๆ ไม่เหมือนต้นไม้บนบกที่มีใบแข็ง มันจึงต้องดำน้ำหรืออยู่ใกล้แหล่งน้ำเสมอ อย่างไรก็ดี ทฤษฎีการดำน้ำของอะแพโทซอรัสหรือซอโรพอดอื่น ๆ เริ่มเป็นที่ถกประเด็นในยุคหลังว่าเป็นได้จริงแค่ไหน โดยนักชีววิทยามีความเห็นว่า หากซอโรพอดต้องหลบศัตรูโดยดำน้ำลงไปลึกเกือบ 10 เมตรจริง ลำคอและปอดของมันจะทนทานแรงกดดันของน้ำลึกได้ขนาดนั้นหรือไม่
อะแพทโทซอรัส หรือ อะแพตโตซอรัส (อังกฤษ: Apatosarus) หรือชื่อที่คุ้นเคยกันในอดีตว่า บรอนโตซอรัส (Brontosaurus) เป็นไดโนเสาร์ยักษ์ในยุคจูแรสซิก กินพืชเป็นอาหาร เคยมีสมญาว่า ยักษ์ใหญ่ไร้พิษสง อาศัยอยู่บนโลกนี้เมือประมาณ 190-135 ล้านปีที่ผ่านมา ชื่อของไดโนเสาร์ชนิดนี้เมื่อแปลออกมาแล้วจะมีความหมายว่า "กิ้งก่าปลอม"
อะแพโทซอรัสเป็นไดโนเสาร์ที่ตัวใหญ่มาก เมื่อโตเต็มที่จะยาวถึง 75 ฟุต สูงกว่า 15 ฟุต (แต่ขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยพบคือ 85 ฟุต) หางยาวอะแพโทซอรัสมีน้ำหนัก 24-35 ตัน ถูกค้นพบในยุคแรก ๆ ของสงครามล่ากระดูกไดโนเสาร์ในอเมริกา ปลายคริสศตวรรษที่ 19 (สูสีกับดิพโพลโดคัสมากนะครับ)
ลักษณะตามแบบตระกูลซอโรพอด คือ คอยาว หางยาวมาก ๆ ประมาณ 23-26 เมตร หัวเล็ก ดูเผิน ๆ เหมือนกับนกไม่มีหัว ขา 4 ข้างใหญ่เหมือนเสา สามารถรับน้ำหนักตัวมันได้ แม้จะอยู่บนบก หรือ ยืน 2 ขาขึ้นเพื่อหาใบไม้อ่อนยอดสูงกิน ที่เท้าหน้าของอะแพโทซอรัสมีเล็บแหลมตรงนิ้วโป้ง ซึ่งปัจจุบันนักโบราณชีววิทยาสันนิษฐานว่า น่าจะเป็นอาวุธใช้ป้องกันตัวต่อสู้กับพวกอัลโลซอรัส ด้วยการยืน 2 ขา แล้วใช้เล็บแหลมนี้ทิ่มจิกนักล่า
วันจันทร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
ยุคของไดโนเสาร์
ยุคไทรแอสสิก
การครอบ ครองโลกของไดโนเสาร์ในยุคนี้โลกถูกปกคลุมด้วยป่าไม้จำนวนมาก พืชตระกูลที่ใช้สปอร์ในการขยายพันธ์ประสบความสำเร็จและมีวิวัฒนาการถึงขั้นสูงสุด ในป่ายุคไตรแอสสิกช่วงแรกนั้นมีสัตว์ใหญ่ไม่มากนักสัตว์ปีกที่ใหญ่ที่สุดคือแมลงปอยักษ์ที่ปีกกว้างถึง2ฟุตและได้ชื่อว่าเป็นนักล่าเวหาเพียงชนิดเดียวของยุคนี้ เนื่องจากในช่วงปลายของยุคเปอร์เมียนเกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ของสิ่งมีชีวิตทำให้พวกสัตว์เลื้อยคลานกึ่งเลี้ยงลูกด้วยนมจำนวนมาก สูญพันธุ์ไปพวกที่เหลือได้สืบทอดเผ่าพันธุ์มาจนถึงต้นยุคไตรแอสสิกในกลุ่มสัตว์เหล่านี้เจ้าซินนอกนาตัสเป็นสัตว์นักล่าที่น่าเกรงขามที่สุด ในหมู่พวกมันและในช่วงนี้เองไดโนเสาร์ก็ถือกำเนิดขึ้นโดยพวกมันวิวัฒนาการมาจากสัตว์เลื้อยคลานที่เดินด้วยขาหลังอย่างเจ้าธีโคดอนซึ่งถือกันว่าเป็นบรรพบุรุษของไดโนเสาร์ การสูญพันธ์ครั้งใหญ่ในยุคเปอร์เมียนทำให้พวกมันสามารถขยายเผ่าพันธุ์ได้อย่างมากมายในช่วงต้นยุคไตรแอสสิกและกลายมาเป็นคู่แข่งของพวกสัตว์เลื้อยคลานกึ่งเลี้ยงลูกด้วยนมที่เหลือ ไดโนเสาร์ในยุคแรกเป็นพวกเดินสองขา เช่น พลาทีโอซอร์ ไดโนเสาร์กินพืชคอยาวที่เป็นบรรพบุรุษของพวก ซอโรพอด หรือเจ้าซีโลไฟซิส บรรพบุรุษของพวกกินเนื้อ นักล่าสองขาความสูง 1 เมตร การที่มันสามารถเคลื่อนไหวได้ด้วยสองขาหลังทำให้พวกมันมีความคล่องตัวในการล่าสูงกว่า ซินนอกนาตัส หรืออีรีโทรซูคัสที่ยาวถึง 15 ฟุตซึ่งมีกรามขนาด ใหญ่และแข็งแรงนักล่าเหล่านี้ได้เปรียบซินนอกนาตัสและสัตว์เลื้อยคลานกึ่งเลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆทำให้พวกนี้ต้องวิวัฒนาการให้มีขนาดเล็กลงเพื่อที่จะหลบหนีพวกไดโนเสาร์ และหลีกทางให้เผ่าพันธุ์ไดโนเสาร์ก้าวมาครองโลกนี้แทนในที่สุด
ยุคจูราสสิก
ไดโนเสาร์ครอบครองโลกได้สำเร็จในตอนปลายยุคไตรแอสสิก จนเมื่อเข้าถึงยุคจูราสสิกพวกมันก็ขยายเผ่าพันธุ์ไปทั่วโลกในยุคนี้ผืนแผ่นดินถูกปกคลุมด้วยพืชขนาดยักษ์จำพวกสนและเฟิร์นอย่างไรก็ตามได้เริ่มมีพืชดอกปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกในช่วงกลางของยุคนี้นับว่าเป็นจุดเริ่มของการขยายพันธุ์รูปแบบใ หม่ของพวกพืชในยุคจูราสสิกนับได้ว่าเป็นยุคที่พวกไดโนเสาร์คอยาวตระกูลซอโรพอด(Sauropod)ขยายเผ่าพันธุ์อย่างกว้างขวางพวกมันเป็นไดโนเสาร์ ขนาดยักษ์สายพันธุ์ที่รู้จักกันดีก็คือ แบรกคิโอซอรัส (Brachiosaurus) ดิปโพลโดคัส (Diplodocus) และอะแพทโตซอรัส(Apatosaurus)หรืออีกชื่อคือบรอนโตซอรัสนอกจากนี้ยังมีชนิดอื่นๆอีกมากมายสัตว์ยักษ์เหล่านี้ครั้งหนึ่งถูกมองว่า เป็นสัตว์ที่โง่และไม่อาจป้องกันตัวจากสัตว์นักล่าได้ทว่าในปัจจุบันนักโบราณคดีชีววิทยา (paleontology)เชื่อว่าพวกมันใช้หางที่หนาหนักศัตรูที่มาจู่โจมซึ่งนับว่าเป็นการตอบโต้ที่น่ายำเกรงไม่น้อยและเพราะหางที่ยาว และมีน้ำหนักมากนี่เองที่ทำให้พวกมันต้อง มีคอยาวเพื่อสร้างสมดุล ของสรีระของมัน
ยุคครีเตเซียส
ยุคครีเตเชียสเป็นยุคที่ต่อจากยุคจูแรสสิกสัตว์เลื้อยคลานเจริญมากในยุคนี้ ที่ประเทศอเมริกาก็มีการค้นพบสัตว์ทะเลที่เคยอาศัยอยุ่ในช่วงเดียวกันกับไดโนเสาร์ได้แก่ พวกพลีสิโอซอร์เช่น อีลาสโมซอรัส พวกกิ้งก่าทะเลโมซาซอร์อย่างไฮโนซอรัส และอาเครอนเป็นพวกเต่าอาศัยอยู่ในทะเล บนท้องฟ้าก็มีเคอาร์โคโทรุสซึ่งมีขนาดปีกยาวถึง 15 เมตร บินอยู่มากมายยุคนี้เป็นยุคที่ไดโนเสาร์มีการพัฒนาตัวเองอย่างมาก พวกซอริสเชียนที่กินเนื้อมีตัวขนาดใหญ่ได้แก่ อัลเบอร์โตซอรัส ไทรันโนซอรัสปรากฏในยุคนี้มีลักษณะดังนี้ไทรันโนซอรัสนั้นมีเล็บที่ขาหลังใหญ่โตและมีฟันแหลมยาวประมาณ 13 เซนติเมตร เพื่อใช้จับเหยื่อพวกซอริสเชียนที่กินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหารก็ได้แก่ ออนิโตมิมัสพวกออร์นิธิสเชียนมักจะเป็นพวกกินพืชพวกที่ถูกค้นพบครั้งแรกก็ได้แก่ อิกัวโนดอน แล้วก็พบ ฮิพุชิโรโฟดอน และ ฮาโดโรซอรัส พวกออร์นิธิสเชียน ได้แก่ ไทรเซอราทอปส์ แองคิโลซอรัส พบเจริญอยู่มากมาย แต่ว่าก่อนจะหมดยุคครีเตเชียส นั้นอากาศก็เริ่มเปลี่ยนแปลงไดโนเสาร์บางพวกเริ่มตายลงและสูญพันธุ์หลังจากไดโนเสาร์สูญพันธุ์ไปแล้วสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมก็มีบทบาทขึ้นมาบนโลก
การจำแนก
ไดโนเสาร์ถูกแบ่งออกเป็นสองอันดับใหญ่ ๆ ตามลักษณะโครงสร้างของกระดูกเชิงกราน คือ Saurischia (เรียกไดโนเสาร์ในอันดับนี้ว่า ซอริสเชียน) ซึ่งมีลักษณะกระดูกเชิงกรานแบบสัตว์เลื้อยคลาน มีทั้งพวกกินพืชและกินสัตว์ และ :en:Ornithischia|Ornithischia (เรียกไดโนเสาร์ในอันดับนี้ว่า ออร์นิทิสเชียน) มีกระดูกเชิงกรานแบบนกและเป็นพวกกินพืชทั้งหมด[2]
- ไดโนเสาร์สะโพกสัตว์เลื้อยคลาน หรือ ซอริสเชียน (จากภาษากรีก แปลว่าสะโพกสัตว์พวกกิ้งก่า) เป็นไดโนเสาร์ที่คงโครงสร้างของกระดูกเชิงกรานตามบรรพบุรุษ ซอริสเชียนรวมไปถึงไดโนเสาร์
- เทอโรพอด (theropod) (ไดโนเสาร์กินเนื้อเดินสองขา) และซอโรพอด (sauropod) (ไดโนเสาร์กินพืชคอยาว)
- ไดโนเสาร์สะโพกนก หรือ ออร์นิทิสเชียน (จากภาษากรีก แปลว่าสะโพกนก) เป็นไดโนเสาร์อีกอันดับหนึ่ง ส่วนใหญ่เดินสี่ขา และกินพืช
ไดโนเสาร์
(อังกฤษ: Dinosaur) เป็นชื่อเรียกโดยรวมของสัตว์ดึกดำบรรพ์ในอันดับใหญ่ Dinosauria ซึ่งเคยครองระบบนิเวศบนพื้นพิภพ ในมหายุคมีโซโซอิก เป็นเวลานานถึง 165 ล้านปี ก่อนจะสูญพันธุ์ ไปเมื่อ 65 ล้านปีที่แล้ว คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าไดโนเสาร์เป็นสัตว์เลื้อยคลาน แต่อันที่จริงไดโนเสาร์เป็นสัตว์ในอันดับหนึ่งที่มีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างสัตว์เลื้อยคลานและนก
คำว่า ไดโนเสาร์ ในภาษาอังกฤษ dinosaur ถูกตั้งขึ้นโดย เซอร์ ริชาร์ด โอเวน นักบรรพชีวินวิทยา ชาวอังกฤษ ซึ่งเป็นการผสมของคำในภาษากรีกสองคำ คือคำว่า deinos (δεινός) (ใหญ่จนน่าสะพรึงกลัว) และคำว่า sauros (σαύρα) (สัตว์เลื้อยคลาน)
หลายคนเข้าใจผิดว่า ไดโนเสาร์ คือสัตว์ที่อาศัยอยู่ในมหายุคมีโซโซอิกทั้งหมด แต่จริงๆ แล้ว ไดโนเสาร์ คือสัตว์ชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่บนพื้นดินเท่านั้น สัตว์บกบางชนิดที่คล้ายไดโนเสาร์ สัตว์น้ำและสัตว์ปีกที่มีลักษณะคล้ายไดโนเสาร์ ไม่ถือว่าเป็นไดโนเสาร์ เป็นเพียงสัตว์ชนิดที่อาศัยอยู่ในยุคเดียวกับไดโนเสาร์เท่านั้น
แม้ว่าไดโนเสาร์จะสูญพันธุ์ไปนานหลายล้านปีแล้ว แต่คำว่าไดโนเสาร์ก็ยังเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้อาจเป็นเพราะไดโนเสาร์นั้นนับว่าเป็นสัตว์ชนิดหนึ่ง ที่เต็มไปด้วยปริศนาและความน่าอัศจรรย์เป็นอันมากนั่นเอง
ประวัติการค้นพบ
มนุษย์ค้นพบซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์มาเป็นเวลานับพันปีแล้ว แต่ยังไม่มีผู้ใดเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าเศษซากเหล่านี้เป็นของสัตว์ชนิดใด และพากันคาดเดาไปต่าง ๆ นานา ชาวจีนมีความคิดว่านี่คือกระดูกของมังกร ขณะที่ชาวยุโรปเชื่อว่านี่เป็นสิ่งหลงเหลือของสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปเมื่อครั้งเกิดน้ำท่วมโลกครั้งใหญ่ จนกระทั่งเมื่อมีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ในปี ค.ศ. 1822 โดย กิเดียน แมนเทล นักธรณีวิทยาชาวอังกฤษ ไดโนเสาร์ชนิดแรกของโลกจึงได้ถูกตั้งชื่อขึ้นว่า อิกัวโนดอน เนื่องจากซากดึกดำบรรพ์นี้มีลักษณะละม้ายคล้ายคลึงกับโครงกระดูกของตัวอิกัวนาในปัจจุบัน
สองปีต่อมา วิลเลียม บักแลนด์ (William Buckland) ศาสตราจารย์ด้านธรณีวิทยา ประจำมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ก็ได้เป็นคนแรกที่ตีพิมพ์ข้อเขียนอธิบายเกี่ยวกับไดโนเสาร์ในวารสารทางวิทยาศาสตร์ โดยเป็นไดโนเสาร์ชนิด เมกะโลซอรัส บักแลนดี (Megalosaurus bucklandii) และการศึกษาซากดึกดำบรรรพ์ของสัตว์พวกกิ้งก่า ขนาดใหญ่นี้ก็ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จากนักวิทยาศาสตร์ทั้งในยุโรปและอเมริกา
จากนั้นในปี ค.ศ. 1842 เซอร์ ริชาร์ด โอเวน เห็นว่าซากดึกดำบรรพ์ขนาดใหญ่ที่ถูกค้นพบมีลักษณะหลายอย่างร่วมกัน จึงได้บัญญัติคำว่า ไดโนเสาร์[1] เพื่อจัดให้สัตว์เหล่านี้อยู่ในกลุ่มอนุกรมวิธานเดียวกัน นอกจากนี้ เซอร์ริชาร์ด โอเวน ยังได้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ ขึ้น ที่เซาท์เคนซิงตัน กรุงลอนดอน เพื่อแสดงซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ รวมทั้งหลักฐานทางธรณีวิทยาและชีววิทยาอื่น ๆ ที่ถูกค้นพบ โดยได้รับการสนับสนุนจากเจ้าชายอัลเบิร์ตแห่งแซกซ์-โคเบิร์ก-โกทา (Prince Albert of Saxe-Coburg-Gotha) พระสวามีของสมเด็จพระบรมราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร
จากนั้นมา ก็ได้มีการค้นหาซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ในทุกทวีปทั่วโลก (รวมทั้งทวีปแอนตาร์กติกา) ทุกวันนี้มีคณะสำรวจซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์อยู่มากมาย ทำให้มีการค้นพบไดโนเสาร์ชนิดใหม่เพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก ประมาณว่ามีการค้นพบไดโนเสาร์ชนิดใหม่เพิ่มขี้นหนึ่งชนิดในทุกสัปดาห์ โดยทำเลทองในตอนนี้อยู่ที่ทางตอนใต้ของทวีปอเมริกาใต้ โดยเฉพาะประเทศอาร์เจนตินา และประเทศจีน
วิวัฒนาการ
บรรพบุรุษของไดโนเสาร์คือ อาร์โคซอร์ (archosaur) ซึ่งไดโนเสาร์เริ่มแยกตัวออกมาจากอาร์โคซอร์ในยุค ไทรแอสซิก ไดโนเสาร์ชนิดแรกถือกำเนิดขึ้นราวๆ 230 ล้านปีที่แล้ว หรือ 20 ล้านปี หลังจากเกิดการสูญพันธุ์เพอร์เมียน-ไทรแอสซิก (Permian-Triassic extinction event|Permian-Triassic extinction) ซึ่งคร่าชีวิตของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดบนโลกสมัยนั้นไปกว่า 90 เปอร์เซ็นต์
สายพันธุ์ไดโนเสาร์แพร่กระจายอย่างรวดเร็วหลังยุคไทรแอสซิก กล่าวได้ว่าในยุคทองของไดโนเสาร์ (ยุคจูแรสซิก และยุคครีเทเชียส) ทุกสิ่งมีชีวิตบนพื้นพิภพที่มีขนาดใหญ่กว่าหนึ่งเมตรคือไดโนเสาร์
จนกระทั่งเมื่อ 65 ล้านปีที่แล้ว การการสูญพันธุ์ครีเทเชียส-เทอร์เทียรี (Cretaceous-Tertiary extinction) ก็ได้กวาดล้างไดโนเสาร์จนสูญพันธุ์ เหลือเพียงไดโนเสาร์บางสายพันธุ์ที่เป็นบรรพบุรุษของนกในปัจจุบัน ยุคต่างๆของไดโนเสาร์
มหายุค เมโสโซอิค (Mesaozoic Era) 65-225 ล้านปี ในยุคนี้มี 3 ยุค คือ ยุค ไตรแอสสิก ยุคจูราสสิก ยุคครีเตเซียส และยุคซีโนโซอิกในยุคไตรแอสสิกนี้ สภาพอากาศในขณะนั้นจะมี สภาพร้อนและแล้งมากขึ้นกว่าในอดีต ทำให้ต้นไม้ใหญ่น้อยในเขตร้อนสามารถเจริญเติบโตได้ ดีมาก จนกระทั่ง "ไดโนเสาร์ ตัวแรก"ได้ถือกำเนิดขึ้นมาบนโลกนี้ ไดโนเสาร์กลุ่มแรกที่ได้กำเนิด ขึ้นมาจะมีขนาดเล็กเดิน 2 เท้า และมีลักษณะพิเศษ คือ เท้ามีลักษณะคล้ายกับเท้าของนก ต่อมา ในยุคจูราสสิกนี้ จัดว่าเป็นยุคที่เฟื่องฟูเป็นอย่างมาก บรรดาพืชพรรณธัญญาหารที่อุดมสมบูรณ์ ทำให้ไดโนเสาร์จำนวนมากขยายพันธุ์ไปอย่างรวดเร็ว ทำให้มีร่างกายใหญ่โต ซึ่งส่วนใหญ่จะกินพืช เป็นอาหาร และยุคนี้ยังได้ ถือกำเนิด นก ขึ้นมาเป็นครั้งแรกอีกด้วย ต่อมาในยุคครีเตเชียสนี้ จัดว่า เป็นยุคที่ไดโนเสาร์นั้นรุ่งเรื่องที่สุด เพราะยุคนี้ไดโนเสาร์ ได้มีการพัฒนาพันธุ์ออกมาอย่างมากมาย
วันพุธที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
อของซอโรพอดสายพันธุ์ใหม่ที่เพิ่งถูกค้นพบ ไม่เพียงแต่เป็นไดโนเสาร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่านั้น แต่มันยังเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาบนโลกอีกด้วย ข้อสรุปทางวิทยาศาสตร์ที่มีต่อขนาดอันใหญ่โตมโหฬารของเจ้าสิ่งมีชีวิตชนิดนี้ ผู้เคยย่ำเท้าไปบนผืนแผ่นดินของอาร์เจนตินาในปัจจุบัน ในยุคครีเตเชียส
ไดโนเสาร์ตัวนี้มีนามว่า Patagotitan Mayorum เป็นไดโนเสาร์กืนพืชพันธุ์คอยาวที่มีชีวิตอยู่เมื่อ 102 ล้านปีก่อน ขนาดของมันยาวถึง 120 ฟุต และมีน้ำหนักมากถึง 69 ตัน หรือเทียบเท่ากับน้ำหนักของช้างแอฟริกันจำนวน 12 เชือกรวมกัน
ด้วยคุณสมบัติดังกล่าว ส่งผลให้มันเป็นไดโนเสาร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดบนโลกเท่าที่เคยมีมา ใหญ่กว่า Dreadnoughtus ที่ถูกค้นพบก่อนหน้านี้
เมื่อโฮเซ ลูอิส และ ดีเอโก โป นักบรรพชีวินวิทยา จากพิพิธภัณฑ์ Egidio Feruglio Paleontologyค้นพบบางส่วนของฟอสซิลมันเข้า ในฟาร์มแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคพาทาโกเนีย ทางตอนใต้ของอาร์เจนตินา พวกเขารู้ได้ทันทีว่าเจ้าตัวนี้ต้องมีขนาดใหญ่เอามากๆ
ทีมนักสำรวจใช้เวลามากกว่า 1 ปี ในการขุดเอาฟอสซิลออกมาอย่างระมัดระวัง เคนเนท ลาโควารา นักบรรพชีวินวิทยาจากมหาวิทยาลัยโรวัน และเป็นผู้ค้นพบ Dreadnoughtus ถึงกับเห็นใจทีมงานเมื่อนึกถึงสิ่งที่พวกเขาต้องทำ
“นึกถึงหยาดเหงื่อ แรงงานของพวกเขาสิที่ต้องสูญเสียไปกับการขุดเอากระดูกออกมาจากพื้นดิน ขนย้ายอย่างระมัดระวังที่สุดไปยังพิพิธภัณฑ์” เขากล่าว
ขนาดที่ใหญ่ขึ้นของไดโนเสาร์
ฟอสซิลขนาดเต็มตัวของไดโนเสาร์ขนาดยักษ์ ถูกจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติอเมริกา ในนครนิวยอร์ก เมื่อต้นปี 2016 แต่ทีมนักสำรวจได้พรรณาถึงไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่ที่พวกเขาค้นพบ ลงในวารสาร Proceedings of the Royal Society B ที่เพิ่งตีพิมพ์ในสัปดาห์นี้
พวกเขาประมาณน้ำหนักของมัน จากฟอสซิลส่วนขาและขาหน้าที่ได้มา เพียงข้างเดียวมีความยาวถึง 8 ฟุตและมีน้ำหนักราวครึ่งตัน ลาโควารากล่าวว่าการประเมินในลักษณะนี้มักมีข้อผิดพลาด ดังนั้นสมมุติฐานที่คาดว่าน้ำหนักตัวของมันอยู่ที่ราว 69 ตันจึงไม่แน่นอน
ตัวอย่างของฟอสซิลที่พวกเขาค้นพบนั้นประกอบด้วย ฟอสซิลส่วนกระดูกสันหลัง, กระดูกซี่โครง, กระดูกแขน และบางส่วนของสะโพก
“นี่เป็นครั้งแรกที่เราจะได้วิเคราะห์โครงสร้างร่างกายของมัน เจ้าสัตว์ชนิดนี้ปรับร่างกายอย่างไรให้รับน้ำหนักมหาศาล” โปกล่าว
ฟอสซิลเหล่านี้จะช่วยให้นักบรรพชีวินวิทยาหาคำตอบถึงขนาดอันใหญ่โตของไดโนเสาร์วงศ์นี้ ซึ่งขนาดที่เล็กที่สุดของพวกมันมีน้ำหนักอยู่ที่ราว 6 ตัน และผลการค้นพบครั้งนี้แสดงให้เห็นว่ายังคงมีไดโนเสาร์สายพันธุ์ที่เราไม่รู้จักอยู่ในภูมิภาคพาทาโกเนีย “ดูเหมือนว่าหนึ่งในสายพันธุ์ของไดโนเสาร์ขนาดใหญ่เหล่านี้ เลือกที่จะวิวัฒนาการให้ขนาดตัวใหญ่มหึมาขึ้นอย่างบ้าคลั่ง” โปกล่าว
อย่างไรก็ตามโปคิดว่า ไดโนเสาร์และสัตว์ทุกชนิดบนแผ่นดิน ล้วนมีขีดจำกัดของขนาดตัว เช่นเดียวกับ Patagotitan
“ท่ามกลางการแข่งขันของขนาด ไดโนเสาร์สายพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่มหึมาล้วนมีความแตกต่างกันของขนาดตัวราว 10 – 15%” เขากล่าว “นั่นหมายความว่าเรากำลังเข้าใกล้ความเป็นไปได้ที่จะพบกับเพดานสูงสุดของขนาดตัวสัตว์บก ที่เราไม่เคยทราบมาก่อน จนกระทั่งเร็วๆ นี้ ซึ่งมันเป็นการค้นพบที่น่าตื่นเต้นครับ”
เพื่อนๆ คงจะทราบกันดีแล้วว่าไดโนเสาร์นั้นได้สูญพันธุ์ไปกว่า 65 ล้านปีแล้ว แต่มีบางทฤษฎีได้บอกว่าไดโนเสาร์นั้นไม่ได้สูญพันธุ์ไปทั้งหมดหรอกแต่มันได้วิวัฒนาการไปเป็นสัตว์ปีกหรือนกนั้นเองแต่ทั้งนี้ยังมีสัตว์อีกหลายชนิดที่มีอายุมากกว่าพวกไดโนเสาร์ซะอีกและพวกมันสามารถอยู่รอดมาได้จนถึงในปัจจุบันและแทบจะไม่ได้เปลี่ยนแปลงรูปร่างของมันเลย ในวันนี้เราจะพาเพื่อนๆ ไปดูกันว่ามีสัตว์อะไรบ้างที่ยังมีชีวิตอยู่จากในยุคดึกดำบรรพ์และแต่ละตัวมีอายุเท่าไหรกันบ้างไปชมกันเลยครับ
1. ปลาสเตอร์เจียน
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่ : ครีเตเชียส-ปัจจุบัน
อายุประมาน : 145 ล้านปี
ปลาสเตอร์เจียน มีรูปร่างคล้ายปลาฉลาม มีหนามแหลมสั้น ๆ บริเวณหลัง หัว และเส้นข้างลำตัวไว้เพื่อป้องกันตัว มีหนวดทั้งหมด 2 คู่อยู่บริเวณปลายจมูก ปลายหัวแหลม ปากอยู่ใต้ลำตัว ลำตัวไม่มีเกล็ด ภายในปากไม่มีฟัน ตามีขนาดเล็ก ซึ่งหนวดของปลาสเตอร์เจียนนี้มีหน้าที่สัมผัสและรับคลื่นกระแสไฟฟ้าขณะที่ว่ายน้ำ เนื่องจากมันไม่สามารถมองเห็นวัตถุที่อยู่ใต้ของลำตัวได้ และมันมีขนาดใหญ่ได้ถึง 5 เมตรเลยทีเดียวและมีน้ำหนักได้ถึง 600 กิโลกรัม โดยปลาสเตอร์เจียนนั้นเป็นปลา 3 น้ำ คือสามารถอยู่ได้ทั้งน้ำเค็ม น้ำจืดและน้ำกร่อย นี้อาจเป็นสาเหตุให้มันมีชีวิตรอดมาถึงในปัจจุบันนั้นเอง แต่น่าเสียดายที่เจ้าสเตอร์เจียนนั้นกำลังจะสูญพันธุ์จากการล่าของมนุษย์เพื่อนำไข่ไปทำไข่ปลาคาร์เวียร์
อายุประมาน : 145 ล้านปี
ปลาสเตอร์เจียน มีรูปร่างคล้ายปลาฉลาม มีหนามแหลมสั้น ๆ บริเวณหลัง หัว และเส้นข้างลำตัวไว้เพื่อป้องกันตัว มีหนวดทั้งหมด 2 คู่อยู่บริเวณปลายจมูก ปลายหัวแหลม ปากอยู่ใต้ลำตัว ลำตัวไม่มีเกล็ด ภายในปากไม่มีฟัน ตามีขนาดเล็ก ซึ่งหนวดของปลาสเตอร์เจียนนี้มีหน้าที่สัมผัสและรับคลื่นกระแสไฟฟ้าขณะที่ว่ายน้ำ เนื่องจากมันไม่สามารถมองเห็นวัตถุที่อยู่ใต้ของลำตัวได้ และมันมีขนาดใหญ่ได้ถึง 5 เมตรเลยทีเดียวและมีน้ำหนักได้ถึง 600 กิโลกรัม โดยปลาสเตอร์เจียนนั้นเป็นปลา 3 น้ำ คือสามารถอยู่ได้ทั้งน้ำเค็ม น้ำจืดและน้ำกร่อย นี้อาจเป็นสาเหตุให้มันมีชีวิตรอดมาถึงในปัจจุบันนั้นเอง แต่น่าเสียดายที่เจ้าสเตอร์เจียนนั้นกำลังจะสูญพันธุ์จากการล่าของมนุษย์เพื่อนำไข่ไปทำไข่ปลาคาร์เวียร์
ซากฟอสซิลปลาสเตอร์เจียน
2. แมลงสาบ
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่ : คาร์บอนิเฟอรัส - ปัจจุบัน
อายุประมาน : 145 ล้านปี
แมลงสาบเป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่ใกล้ตัวมนุษย์มากที่สุดและมนุษย์ก็เกลียดมันมากที่สุดด้วยเช่นกัน มันมีลักษณะลำตัวยาวรีเป็นรูปไข่เป็นสีดำหรือสีน้ำตาลเข้ม มีส่วนหัวซ่อนอยู่ใต้อก มีหนวดยาวคล้ายเส้นด้าย ขายาวมีหนามคลุม ตัวเต็มวัยมีทั้ง มีปีกและไม่มีปีก เป็นแมลงที่หากินตามพื้นดินเป็นหลักตามที่มืด ๆ หรือในเวลากลางคืน ไม่ชอบที่จะบินแต่ถ้ามันบินเมื่อไหร่ละก็นรกเกิดทันทีเพราะมันจะบินแบบไร้ทิศทาง และมันเป็นแมลงที่อึดและตายยากสุดๆ ถึงกับมีคำพูดติดตลกว่าหากเกิดสงครามนิวเคลียร์เจ้าแมลงสาบเนี่ยแหละจะเป็นสิ่งมีชีวิตสุดท้ายบนโลก
อายุประมาน : 145 ล้านปี
แมลงสาบเป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่ใกล้ตัวมนุษย์มากที่สุดและมนุษย์ก็เกลียดมันมากที่สุดด้วยเช่นกัน มันมีลักษณะลำตัวยาวรีเป็นรูปไข่เป็นสีดำหรือสีน้ำตาลเข้ม มีส่วนหัวซ่อนอยู่ใต้อก มีหนวดยาวคล้ายเส้นด้าย ขายาวมีหนามคลุม ตัวเต็มวัยมีทั้ง มีปีกและไม่มีปีก เป็นแมลงที่หากินตามพื้นดินเป็นหลักตามที่มืด ๆ หรือในเวลากลางคืน ไม่ชอบที่จะบินแต่ถ้ามันบินเมื่อไหร่ละก็นรกเกิดทันทีเพราะมันจะบินแบบไร้ทิศทาง และมันเป็นแมลงที่อึดและตายยากสุดๆ ถึงกับมีคำพูดติดตลกว่าหากเกิดสงครามนิวเคลียร์เจ้าแมลงสาบเนี่ยแหละจะเป็นสิ่งมีชีวิตสุดท้ายบนโลก
ซากฟอสซิลของแมลงสาบ
3. ไทรออปส์
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่ : คาร์บอนิฟอรัส-ปัจจุบัน
อายุประมาน : 300 ล้านปี
ไทรออปส์ หรือ ที่เรียกกันว่ากุ้งไดโนเสาร์ เป็นสัตว์ดึกดำบรรพ์เกิดในยุคคาร์บอนิฟอรัสหรือเมื่อ 300 ล้านปีที่แล้ว ถูกยกให้เป็นฟอสซิลที่ยังมีชีวิต มันไม่มีกระดูกสันหลัง อาศัยในน้ำจืด และมีขนาดเล็กประมาณ 1-3 นิ้วเท่านั้นเจ้าไทรออปส์นั้นมี 2 เพศ สามารถผสมพันธุ์ได้ในตัวเองแต่พบไม่บ่อยนัก ส่วนใหญ่เป็นเพศผู้ หรือเพศเมีย อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งไทรออปส์ตัวเมียจะใช้ขาสร้างถุงใส่ไข่ โดยไข่จะถูกหุ้มด้วยเปลือก ทั้งนี้เพื่อรักษาตัวอ่อนให้มีชีวิตอยู่ได้ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการฟักตัว เช่น ร้อนจัด หนาวจัด ไข่จะถูกฟักเป็นตัวเมื่อไข่แห้งเต็มที่ แล้วกลับมาเปียกน้ำอีกครั้งในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และนี้อาจเป็นสาเหตุว่าทำไม ตระกูลมันจึงอยู่รอดได้มาจวบจนทุกวันนี้
อายุประมาน : 300 ล้านปี
ไทรออปส์ หรือ ที่เรียกกันว่ากุ้งไดโนเสาร์ เป็นสัตว์ดึกดำบรรพ์เกิดในยุคคาร์บอนิฟอรัสหรือเมื่อ 300 ล้านปีที่แล้ว ถูกยกให้เป็นฟอสซิลที่ยังมีชีวิต มันไม่มีกระดูกสันหลัง อาศัยในน้ำจืด และมีขนาดเล็กประมาณ 1-3 นิ้วเท่านั้นเจ้าไทรออปส์นั้นมี 2 เพศ สามารถผสมพันธุ์ได้ในตัวเองแต่พบไม่บ่อยนัก ส่วนใหญ่เป็นเพศผู้ หรือเพศเมีย อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งไทรออปส์ตัวเมียจะใช้ขาสร้างถุงใส่ไข่ โดยไข่จะถูกหุ้มด้วยเปลือก ทั้งนี้เพื่อรักษาตัวอ่อนให้มีชีวิตอยู่ได้ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการฟักตัว เช่น ร้อนจัด หนาวจัด ไข่จะถูกฟักเป็นตัวเมื่อไข่แห้งเต็มที่ แล้วกลับมาเปียกน้ำอีกครั้งในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และนี้อาจเป็นสาเหตุว่าทำไม ตระกูลมันจึงอยู่รอดได้มาจวบจนทุกวันนี้
ซากฟอสซิลไทรออปส์
4.หอยงวงช้าง
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่ : ไทรแอซซิค-ปัจจุบัน
อายุประมาน : 350 ล้านปี
เจ้าหอยงวงช้างนี้อยู่บนโลกมาก่อนที่จะมีไดโดนเสาร์ซะอีก มันใช้ชีวิตอยู่ในทะเลอันดามันและในแถบมหาสมุทรอินเดีย โดยร่างกายของมันปกคลุมไปด้วยเปลือกหลายชั้น และมีหนวดยาวเกือบ 100 เส้นใกล้ๆ กับปาก พวกมันจะใช้หนวดในการต่อสู้และป้องกันตัวจากพวกนักล่า โดยหอยงวงช้างมีการเคลื่อนที่แบบเดียวกับปลาหมึกด้วยการพ่นน้ำออกไปทางท่อไซฟอน ในปัจจุบันประเทศไทยสามารถเพาะเลี้ยงหอยงวงช้างได้แล้ว
อายุประมาน : 350 ล้านปี
เจ้าหอยงวงช้างนี้อยู่บนโลกมาก่อนที่จะมีไดโดนเสาร์ซะอีก มันใช้ชีวิตอยู่ในทะเลอันดามันและในแถบมหาสมุทรอินเดีย โดยร่างกายของมันปกคลุมไปด้วยเปลือกหลายชั้น และมีหนวดยาวเกือบ 100 เส้นใกล้ๆ กับปาก พวกมันจะใช้หนวดในการต่อสู้และป้องกันตัวจากพวกนักล่า โดยหอยงวงช้างมีการเคลื่อนที่แบบเดียวกับปลาหมึกด้วยการพ่นน้ำออกไปทางท่อไซฟอน ในปัจจุบันประเทศไทยสามารถเพาะเลี้ยงหอยงวงช้างได้แล้ว
ซากฟอสซิลหอยงวงช้าง
5. ปลาซีลาแคนท์
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่ : ดีโวเนียน-ปัจจุบัน
อายุประมาน : 409 ล้านปี
ปลาซีลาแคนท์นั้นเป็นหนึ่งในปลาที่มีความเสี่ยงใกล้จะสูญพันธุ์มากที่สุดในปัจจุบัน พวกมันมีอยู่ด้วยกันสองสายพันธุ์โดยมันอาศัยอยู่ในระดับความลึกถึง 2,300 ฟุตใต้ท้องทะเลบริเวณชายฝั่งแถบแอฟริกาและอินโดนิเซีย ปลาพันธุ์นี้มีขนาดของลำตัว6.5 ฟุต มีน้ำหนักสูงสุดถึง 90 กิโลกรัม และมีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 60 ปี พวกมันใช้เซ็นเซอร์ในการหาอาหารและสามารถขยายกรามให้กว้างขึ้นเพื่องับเหยื่อที่มีขนาดใหญ่ได้
อายุประมาน : 409 ล้านปี
ปลาซีลาแคนท์นั้นเป็นหนึ่งในปลาที่มีความเสี่ยงใกล้จะสูญพันธุ์มากที่สุดในปัจจุบัน พวกมันมีอยู่ด้วยกันสองสายพันธุ์โดยมันอาศัยอยู่ในระดับความลึกถึง 2,300 ฟุตใต้ท้องทะเลบริเวณชายฝั่งแถบแอฟริกาและอินโดนิเซีย ปลาพันธุ์นี้มีขนาดของลำตัว6.5 ฟุต มีน้ำหนักสูงสุดถึง 90 กิโลกรัม และมีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 60 ปี พวกมันใช้เซ็นเซอร์ในการหาอาหารและสามารถขยายกรามให้กว้างขึ้นเพื่องับเหยื่อที่มีขนาดใหญ่ได้
ซากฟอสซิลปลาซีลาแคนท์
6. ปลาแลมป์เพรย์
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่ : ดีโวเนียนตอนปลาย-ปัจจุบัน
อายุประมาน : 419.2 ล้านปี
ปลาแลมป์เพรย์นั้นเป็นปลาที่ถูกจัดว่าไม่มีขากรรไกร ลักษณะคล้ายปลาไหล ไม่มีเกล็ด ปากจะอยู่ลงมาทางด้านท้อง มีลักษณะเป็นวงกลมใช้สำหรับดูด มีฟันแหลมคมจำนวนมากอยู่ในอุ้งปาก มีลักษณะเพศแยกออกเป็นเพศผู้และเพศเมียชัดเจน ปลาแลมเพรย์แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ แบบธรรมดา กับ แบบปรสิต โดยแบบธรรมดานั้น จะอาศัยอยู่ตามลำธาร ช่วงชีวิตส่วนใหญ่จะเป็นระยะตัวอ่อนที่กินอาหารแบบกรอง ตัวเต็มวัยมีชีวิตอยู่ได้ 3-4 สัปดาห์หลังจากวางไข่ และแบบนั้นปรสิตจะใช้ฟันและลิ้นครูดเอาเนื้อของเหยื่อออก เพื่อให้เลือดของเหยื่อไหลผ่านได้สะดวก ปลาแลมป์เพรย์จะสร้างสารป้องกันการตกตะกอนของเลือดส่งไปที่แผลเพื่อดูดเลือดของเหยื่อจนตัวเหยื่อแห้งและตายไป
อายุประมาน : 419.2 ล้านปี
ปลาแลมป์เพรย์นั้นเป็นปลาที่ถูกจัดว่าไม่มีขากรรไกร ลักษณะคล้ายปลาไหล ไม่มีเกล็ด ปากจะอยู่ลงมาทางด้านท้อง มีลักษณะเป็นวงกลมใช้สำหรับดูด มีฟันแหลมคมจำนวนมากอยู่ในอุ้งปาก มีลักษณะเพศแยกออกเป็นเพศผู้และเพศเมียชัดเจน ปลาแลมเพรย์แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ แบบธรรมดา กับ แบบปรสิต โดยแบบธรรมดานั้น จะอาศัยอยู่ตามลำธาร ช่วงชีวิตส่วนใหญ่จะเป็นระยะตัวอ่อนที่กินอาหารแบบกรอง ตัวเต็มวัยมีชีวิตอยู่ได้ 3-4 สัปดาห์หลังจากวางไข่ และแบบนั้นปรสิตจะใช้ฟันและลิ้นครูดเอาเนื้อของเหยื่อออก เพื่อให้เลือดของเหยื่อไหลผ่านได้สะดวก ปลาแลมป์เพรย์จะสร้างสารป้องกันการตกตะกอนของเลือดส่งไปที่แผลเพื่อดูดเลือดของเหยื่อจนตัวเหยื่อแห้งและตายไป
ซากฟอสซิลปลาแลมป์เพรย์
7. แมงดาทะเล
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่ : ออร์โดวิเชียน–ปัจจุบัน
อายุประมาน : 485.4 ล้านปี
แมงดาทะเลนั้นอาศัยอยู่ในเขตทะเลน้ำตื้นเราสามารถพบมันได้ทั่วโลก ลักษณะของเจ้าแมงดาทะเลนั้นมีเปลือกแข็งคล้ายกับกระดอง และมันเป็นสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังและมีหางที่ยาวแหลม ในบางสายพันธุ์นั้นมีพิษร้ายแรง นอกจากนี้มันยังมีดวงตามากถึง 9 ดวง โดยมีดวงตาหลักสองดวงในการทำหน้าที่มองเห็น ส่วนที่เหลือจะทำหน้าที่ในการรับแสงเพื่อการเคลื่อนที่ สิ่งที่น่าทึ่งก็คือในช่วงระยะเวลากว่า 485 ล้านปีที่มันอยู่บนโลกมานั้นมันแทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปลักษณ์ของมันเลย
อายุประมาน : 485.4 ล้านปี
แมงดาทะเลนั้นอาศัยอยู่ในเขตทะเลน้ำตื้นเราสามารถพบมันได้ทั่วโลก ลักษณะของเจ้าแมงดาทะเลนั้นมีเปลือกแข็งคล้ายกับกระดอง และมันเป็นสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังและมีหางที่ยาวแหลม ในบางสายพันธุ์นั้นมีพิษร้ายแรง นอกจากนี้มันยังมีดวงตามากถึง 9 ดวง โดยมีดวงตาหลักสองดวงในการทำหน้าที่มองเห็น ส่วนที่เหลือจะทำหน้าที่ในการรับแสงเพื่อการเคลื่อนที่ สิ่งที่น่าทึ่งก็คือในช่วงระยะเวลากว่า 485 ล้านปีที่มันอยู่บนโลกมานั้นมันแทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปลักษณ์ของมันเลย
ซากฟอสซิลแมงดาทะเล
8. แมงกะพรุน
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่ : แคมเบรียน – ปัจจุบัน
อายุประมาน : 505 ล้านปี
เจ้าสิ่งมีชีวิตรูปร่างเหมือนเยลลี่นี้ มันอาศัยอยู่ในทะเลมานานถึง 505 ล้านปีแล้ว โดยแทบจะไม่เปลี่ยนแปลงรูปลักษณ์ของมันเลย โดยแมงกะพรุนเป็นสัตว์ที่ไม่มีสมองและระบบประสาท 90% ในร่างกายของมันประกอบไปด้วยน้ำ และพวกมันยังมีต่อมพิษว่า 5,000 ต่อมบนหนวดเพื่อไว้ป้องกันตัวและจับเหยื่อ ด้านล่างตอนกลางเป็นอวัยวะทำหน้าที่กินและย่อยอาหาร เราสามารถพบแมงกะพรุนได้ในทะเลทุกแห่งทั่วโลก
อายุประมาน : 505 ล้านปี
เจ้าสิ่งมีชีวิตรูปร่างเหมือนเยลลี่นี้ มันอาศัยอยู่ในทะเลมานานถึง 505 ล้านปีแล้ว โดยแทบจะไม่เปลี่ยนแปลงรูปลักษณ์ของมันเลย โดยแมงกะพรุนเป็นสัตว์ที่ไม่มีสมองและระบบประสาท 90% ในร่างกายของมันประกอบไปด้วยน้ำ และพวกมันยังมีต่อมพิษว่า 5,000 ต่อมบนหนวดเพื่อไว้ป้องกันตัวและจับเหยื่อ ด้านล่างตอนกลางเป็นอวัยวะทำหน้าที่กินและย่อยอาหาร เราสามารถพบแมงกะพรุนได้ในทะเลทุกแห่งทั่วโลก
ซากฟอสซิลแมงกะพรุน
9. ฟองน้ำ
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่ : อีดีแอคารัน – ปัจจุบัน
อายุประมาน : 635 ล้านปี
ฟองน้ำเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในทะเล โดยหลายๆ คนมักเข้าใจผิดว่ามันเป็นพืชชนิดหนึ่ง ฟองน้ำนั้นเป็นสัตว์หลายเซลล์ที่มีวิวัฒนาการต่ำสุด มีรูปร่างคล้ายแจกันที่มีรูพรุนเล็ก ๆ ทั่วตัว ซึ่งเป็นช่องทางให้น้ำผ่านเข้าไปในลำตัว และมีเซลล์เรียงกันสองชั้นแต่ยังไม่มีเส้นประสาทและกล้ามเนื้อที่แท้จริง ไม่มีอวัยวะและทางเดินอาหาร และมันมีความสามารถในการสร้างอวัยวะใหม่ขึ้นมาเพื่อทดแทนในส่วนที่ถูกตัดหรือหายไปอีกด้วย
อายุประมาน : 635 ล้านปี
ฟองน้ำเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในทะเล โดยหลายๆ คนมักเข้าใจผิดว่ามันเป็นพืชชนิดหนึ่ง ฟองน้ำนั้นเป็นสัตว์หลายเซลล์ที่มีวิวัฒนาการต่ำสุด มีรูปร่างคล้ายแจกันที่มีรูพรุนเล็ก ๆ ทั่วตัว ซึ่งเป็นช่องทางให้น้ำผ่านเข้าไปในลำตัว และมีเซลล์เรียงกันสองชั้นแต่ยังไม่มีเส้นประสาทและกล้ามเนื้อที่แท้จริง ไม่มีอวัยวะและทางเดินอาหาร และมันมีความสามารถในการสร้างอวัยวะใหม่ขึ้นมาเพื่อทดแทนในส่วนที่ถูกตัดหรือหายไปอีกด้วย
ซากฟอสซิลฟองน้ำ
10. ไซยาโนแบคทีเรีย
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่ : ทุกยุค
อายุประมาน : 3500 ล้านปี
ไซยาโนแบคทีเรียนั้นเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดบนโลกใบนี้ ซึ่งมันเป็นแบคทีเรียที่สังเคราะห์ด้วยแสงได้โดยมันเป็นสาหร่ายชนิดหนึ่งที่มีโครงสร้างของนิวเคลียสคล้ายคลึงกับนิวเคลียสของแบคทีเรีย และบางชนิดยังมีคุณสมบัติตรึงไนโตรเจนในอากาศได้ นอกจากนั้นยังมีคุณสมบัติทางชีวเคมีคล้ายแบคทีเรียด้วย แต่ต่างจากแบคทีเรีย เพราะสาหร่ายชนิดนี้มีคลอโรฟิลล์และมีการปล่อยออกซิเจนออกสู่สิ่งแวดล้อมจากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ซึ่งไม่พบในแบคทีเรีย เรียกง่ายๆ ว่ามันคือผู้ผลิตออกซิเจนให้เราได้หายใจนั่นเอง
อายุประมาน : 3500 ล้านปี
ไซยาโนแบคทีเรียนั้นเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดบนโลกใบนี้ ซึ่งมันเป็นแบคทีเรียที่สังเคราะห์ด้วยแสงได้โดยมันเป็นสาหร่ายชนิดหนึ่งที่มีโครงสร้างของนิวเคลียสคล้ายคลึงกับนิวเคลียสของแบคทีเรีย และบางชนิดยังมีคุณสมบัติตรึงไนโตรเจนในอากาศได้ นอกจากนั้นยังมีคุณสมบัติทางชีวเคมีคล้ายแบคทีเรียด้วย แต่ต่างจากแบคทีเรีย เพราะสาหร่ายชนิดนี้มีคลอโรฟิลล์และมีการปล่อยออกซิเจนออกสู่สิ่งแวดล้อมจากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ซึ่งไม่พบในแบคทีเรีย เรียกง่ายๆ ว่ามันคือผู้ผลิตออกซิเจนให้เราได้หายใจนั่นเอง
ซากฟอสซิลไซยาโนแบคทีเรีย
เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับสิ่งมีชีวิตในยุคดึกดำบรรพ์ ที่พวกมันสามารถรักษาเผ่าพันธุ์เอาไว้ได้จนถึงปัจจุบัน ในบางตัวนั้นเป็นสัตว์ที่อยู่ใกล้ตัวเรามากๆ เช่นเจ้าแมลงสาบ และในบางตัวเราก็ล่ามันเพื่อนำมาเป็นอาหารจนแทบจะสูญพันธุ์กันไปเลยทีเดียว จะเห็นได้ว่าสัตว์เหล่านี้แทบจะไม่ได้วิวัฒนาการตัวเองเลยแต่พวกมันกลับมีชีวิตรอดมาได้เป็นล้านๆ ปี ซึ่งก็คงต้องหาข้อพิสูจน์กันต่อไปว่าพวกมันสามารถมีชีวิตรอดมาได้อย่างไร และนี้เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นนะครับ หากมีตัวไหนตกหล่นไปก็สามารถคอมเม้นต์ไว้ได้นะครับ
สไปโนซอรัส
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สไปโนซอรัส (อังกฤษ: Spinosaurus) มีความหมายว่าสัตว์เลื้อยคลานมีแผง ถูกค้นพบครั้งแรกในทะเลทรายสะฮาร่าของอียิปต์ เมื่อปี ค.ศ. 1910 โดยนักบรรพชีวินวิทยาชาวบาวาเรีย นาม เอิร์ล สโตรเมอร์ โดยขุดค้นไปตามชายขอบด้านตะวันออกของระบบแม่น้ำโบราณซึ่งมีหินในชั้นแคมเบรียนก่อตัวเป็นพรมแดนด้านตะวันตก สไปโนซอรัสเป็นสัตว์กินเนื้อที่เดิน 4 ขาเป็นหลัก ส่วนอาหารนั้นส่วนมากจะเป็นปลา สไปโนซอรัสนั้นมีจุดเด่น คือกระดูกสันหลังสูงเป็นแผ่นคล้ายใบเรือ รูปวงรี มี11ชิ้น ชิ้นที่ยาวที่สุดมีความยาว 1.69 เมตร เชื่อกันว่าใช้ควบคุมอุณหภูมิร่างกาย เนื่องจากถูกค้นพบฟอสซิลในอียิปต์จึงได้สันนิษฐานเช่นนั้น กะโหลกศรีษระมีจะงอยปากแคบที่เต็มไปด้วยฟันรูปกรวย มีหงอนคู่ขนาดเล็กอยู่เหนือดวงตา แขนแข็งแกร่งมี 3นิ้ว สามารถใช้เป็นอาวุธและจับเหยื่อได้ มีความสูง 3 เมตรถ้าเดิน 4 ขา ถ้ายืน 2 ขาจะสูง 3.9-4เมตร มีความยาว 15-18 เมตร โดบฟอสซิลที่สมบูรณ์ที่สุดยาว 15เมตร (ส่วนกะโหลก ยาว 1.75 ม.) น้ำหนัก 23ตัน อาศัยอยู่ใน ทวีปแอฟริกา มีชีวิตอยู่ในตอนกลางของยุคครีเตเชียส (100-97 ล้านปีที่แล้ว) ในช่วงที่มันอาศัยอยู่ในยุคครีเตเชียสตอนกลาง มันมีคู่แข่งที่สำคัญอย่าง คาร์ชาโรดอนโทซอรัส ที่อาศัยอยู่ยุคเดียวกันที่มีความยาว 13.8เมตรและเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อที่ใหญ่เป็นอันดับ2ของโลก สไปโนซอรัส เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ1ในโลก , มันมีญาติอย่าง ซูโคไมมัส บารีออนนิกซ์
ในปี2014 นิซาร์ ฮิบรารัม และนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า สไปโนซอรัสเป็นไดโนเสาร์ที่หากินอยู่ในน้ำเป็นหลัก โดยมีอาหารหลัก คือ ปลา และเป็นนักกินซาก ด้วยรูจมูกซึ่งตั้งอยู่บนกะโหลกค่อนมาทางดวงตาช่วยให้หายใจได้แม้ส่วนใหญ่ของหัวจะจมลงในน้ำ และลำตัวทรงกระบอกที่คล้ายโลมาและวาฬ ส่วนความหนาแน่นของซี่โครงและกระดูกที่แขนก็คล้ายคลึงกับกระดูกของพะยูน ขาหลังที่สั้นและน่าจะเหมาะกับการว่ายน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่มีกรงเล็บเท้าแบน ๆ ในเท้าหลังที่กว้างมีพังผืดเชื่อมต่อกันเหมือนตีนเป็ด อีกทั้งยังมีขากรรไกรเรียวยาวและฟันรูปกรวยเรียบ ๆ เหมือนกับฟันของจระเข้น่าจะใช้จับปลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนหลุมตรงปลายจมูกซึ่งปัจจุบันยังปรากฏให้เห็นในสัตว์จำพวกจระเข้และอัลลิเกเตอร์ อาจมีตัวรับความดันสำหรับตรวจจับอาหารในน้ำขุ่น โดยเชื่อว่า เมื่อล่าเหยื่อ สไปโนซอรัสจะโน้มตัวไปข้างหน้าแล้วงับปลาด้วยปากที่ยาว และเชื่อว่าสไปโนซอรัสใช้เวลาว่ายน้ำหาอาหารมากถึงร้อยละ 80 ต่อวัน [1]
ส่วนคู่แข่งอย่าง คาร์ชาโรดอนโทซอรัส นั้นปัจจุบัน ถูกมองว่า อาจจะล่าสไปโนซอรัสก็ได้ เพราะ มีการพบร่องรอยการกัดที่กระโดงของสไปโนซอรัส ซึ่งนักล่าที่จะทำเช่นนั้นได้ ก็มีแต่ คาร์ชาโรดอนโทซอรัสเท่านั้น ซึ่งถ้าสไปโนซอรัส จะสู้กับคาร์ชาโรดอนโทซอรัสบนบกนั้นจะเสียเปรียบและถึงตายได้ เพราะ การที่มันเดิน4ขาเป็นหลัก ทำให้มันเตี้ย ซึ่งทางเดียวที่จะสู้คือ สไปโนซอรัสต้องอยู่ในน้ำถึงจะได้เปรียบในการต่อสู้
หลังจากมีการค้นพบขาหลังของสไปโนซอรัสในปี 2014 ก็พบว่าขาหลังของสไปโนซอรัสนั้นสั้นมาก จนไม่มีทางที่จะยืน2ขาได้เหมือนในภาพยนตร์Jurassic Park IIIได้ และยังมีการพบว่าเท้านั้นเป็นผังผืดเหมือนตีนเป็ด ซึ่งไม่เหมาะที่จะวิ่งไล่จับเหยือบนบกได้ ดังนั้นจึงคาดว่าน่าจะมีไว้ใช้ในการว่ายน้ำมากกว่า
กระโดงบนหลังของสไปโนซอรัส เมื่อก่อนนักวิทยาศาสตร์ได้สันนิฐานว่า น่าจะใช้ในการปรับอุณหภูมิของร่างกาย และใช้ในการทรงตัว จึงทำให้มันเป็นสัตว์ที่ตื่นตัวมาก แต่ในปี 2014 นิซาร์ ฮิบรารัม และนักวิทยาศาสตร์ ได้ศึกษากระโดงอย่างละเอียดแล้วว่า กระโดงนั้นมีปริมาณเส้นเลือดน้อยมากจึงไม่สามารถใช้ในการปรับอุณหภูมิ จึงได้สันนิฐานใหม่ว่า กระโดงน่าจะใช้ในการดึงดูดเพศตรงข้ามหรือไม่ก็ใช้ในการข่มขวัญพวกเดียวกันเองหรือนักล่านักล่าที่มีขนาดเล็ก แต่ไม่ใช่กับคาร์ชาโรดอนโทซอรัสที่โตเต็มที่ และได้มีการย้ายชิ้นส่วนกระโดงที่ยาวสุดไปไว้ช่วงท้าย เพื่อเป็นประโยชน์ในการว่ายน้ำด้วย
ในวัฒนธรรมร่วมสมัย[แก้]
สไปโนซอรัสได้ปรากฏในภาพยนตร์เรื่อง Jurassic Park III และกลายเป็นตัวชูโรงแทน T-REX ในภาพยนตร์ได้เปรียบเทียบการต่อสู้ของไดโนเสาร์นักล่า 2 พันธุ์มาประจันหน้ากัน ซึ่งท้ายที่สุด สไปโนซอรัส ซึ่งได้เปรียบที่ขนาดตัว และ น้ำหนักที่มากกว่า เป็นฝ่ายหักคอ T-REX ล้มไป แต่ในความจริงแล้ว สไปโนซอรัส ไม่ได้ดุร้ายเหมือนในหนังด้วยซ้ำ (เป็นเพียงแค่ภาพยนตร์ที่ถูกสร้างขึ้นเท่านั้น ) แต่ในภาพยนตร์ จูราสสิค เวิลด์ สไปโนซอรัส มาในรูปแบบโครงกระดูกและก็ถูก ไทแรนโนซอรัส เร็กซ์ พุ่งชนจนโครงกระดูกพังทลาย (เบื้องหลังคือ เป็นการกู้ศักดิ์ศรีและชื่อเสียง ราชาไดโนเสาร์ ไทแรนโนซอรัส เร็กซ์ หรือ ทีเร็กซ์คืนมา) [2]
สไปโนซอรัสยังปรากฏตัวในหนังเรื่อง planet dinosaurs ตอนที่ 1 the lost world ซึ่งในตอนจบได้เข้าปะทะกับคาร์คาโรดอนโตซอรัสที่อยู่ในเขตเดียวกัน แม้ในตอนแรกสไปโนซอรัสจะขับไล่คาร์คาโรดอนโตซอรัสไปได้ แต่ในที่สุด ด้วยการกัดที่อันตรายกว่าของคาร์คาโรดอนโตซอรัสก็ทำให้สไปโนซอรัสพบจุดจบในที่สุด และยังไปปรากฏตัวในเกมส์อีกหลายๆเกมส์
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
-
เอาละครับ วันนี้เราจะมาคุยกัน ด้วยการพาทุกท่านย้อนไปสู่ยุคโบราณ เผชิญหน้าอดีตนักล่า ผู้ปกครองโลกนานร่วม 160 ล้านปี! อันดับ 10 ไดโนนีคัส ...
-
เพื่อนๆ คงจะทราบกันดีแล้วว่าไดโนเสาร์นั้นได้สูญพันธุ์ไปกว่า 65 ล้านปีแล้ว แต่มีบางทฤษฎีได้บอกว่าไดโนเสาร์นั้นไม่ได้สูญพันธุ์ไปทั้งห...